การจัดแข่งขันด้านสิ่งประดิษฐ์หุ่นยนต์กู้ภัย

เมื่อเกิดเหตุการณ์อุบัติภัยหรือเหตุการณ์อันทำให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต และทรัพย์สินของมนุษย์ เช่น เหตุการณ์ตึกถล่มแผ่นดินไหว เป็นต้น การค้นหาผู้ประสบภัยค่อนข้างจะยากลำบากและอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้เข้าไปหา ด้วยเหตุนี้เราจึงได้ทำการสร้างหุ่นยนต์กู้ภัยเพื่อช่วยในการค้นหาผู้ประสบภัยในสภาพพื้นที่คับแคบ พื้นที่ที่มีความเสี่ยงเกิดอันตรายแก่ผู้ค้นหาและพื้นที่ที่มนุษย์ยากจะเข้าถึง โดยการสร้างหุ่นยนต์ตัวนี้ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาใช้ Software มาทำการออกแบบและควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ทำให้หุ่นยนต์สามารถเคลื่อนที่ไปได้ทุกสภาพพื้นผิว ในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ควบคุมกับหุ่นยนต์มีการนำระบบ GPS และ Wireless Lan เข้ามาใช้ นอกจากนี้หุ่นยนต์ยังสามารถจับภาพรอบๆ บริเวณตัวหุ่นยนต์สามารถระบุตำแหน่งของตัวหุ่นยนต์และตำแหน่งของผู้ประสบภัยได้อย่างแม่นยำด้วยกล้องและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดอยู่บนตัวหุ่นยนต์

การออกแบบทางกลไกเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก

เพราะหุ่นยนต์ต้องเคลื่อนที่ผ่านสิ่งกีดขวางลักษณะต่างๆ กลไกที่นำมาใช้งานมีตั้งแต่ ล้อ สายพาน ขา จนถึงกลไกเคลื่อนที่แบบงู อย่างไรก็ตามข้ออ่อนทางเทคนิคที่สำคัญที่นักวิจัยหุ่นยนต์พยายามปรับปรุงหุ่นยนต์กู้ภัยให้มีสมรรถนะสูงขึ้นคือด้านการควบคุมระยะไกลที่ผู้บังคับหุ่นยนต์สามารถรับรู้ถึงสิ่งแวดล้อมที่หน้างานจริงของหุ่นยนต์แม้ว่าอยู่ห่างออกไปถึง 200-300 เมตรก็ตาม ข้อมูลด้านอุณหภูมิ ความดัน แก๊สพิษ ตลอดจนแรงกระทำปฏิสัมพันธ์ระหว่างหุ่นยนต์กับวัตถุสิ่งกีดขวาง หรือแม้กระทั่งต่อร่างกายคนบาดเจ็บมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในการช่วยชีวิตมนุษย์ ระบบหุ่นยนต์ที่บูรณาการข้อมูลภาพและแรงเสียดทานที่เกิดขึ้น

ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ จึงได้จัดการแข่งขันหุ่นยนต์อย่างต่อเนื่อง โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนเยาวชนให้สร้างสรรค์นวัตกรรม ด้านวิจัยและพัฒนาศักยภาพหุ่นยนต์กู้ภัย ทั้งยังเป็นเวทีให้เยาวชนได้แสดงศักยภาพการประดิษฐ์หุ่นยนต์กู้ภัยทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งทีมที่ชนะเลิศจะได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยโลก นอกจากจะส่งเสริมการเรียนรู้ของเยาวชนแล้ว ยังมีส่วนในการสร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยอีกด้วย ซึ่งเป็นการแข่งขันประดิษฐ์หุ่นยนต์กู้ภัยในสถานการณ์สมมุติต่างๆ โดยหุ่นยนต์จะทำการสำรวจหาผู้ประสบภัย ที่ติดอยู่ภายในอาคาร โดยการแข่งขันนี้จะทำให้เกิดการพัฒนาเพื่อจะได้นำมาใช้ในการใช้ในสถานการณ์จริงในอนาคต โดยหุ่นยนต์กู้ภัยจะทำหน้าที่บ่งชี้ตำแหน่งของผู้ประสบภัย ภาวะของผู้ประสบภัย โดยแขนกลของหุ่นยนต์ได้รับการพัฒนาให้ยืด เพื่อสำรวจหาผู้ประสบภัยได้สะดวก โดยมีเซ็นเซอร์ ไฟ กล้อง ในการใช้สำรวจหาผู้ประสบภัย