โลกในยุคโลกาภิวัตน์นั้นประเทศต่าง ๆ ต้องแข่งขันกันในการพัฒนาประเทศเพื่อให้อยู่ในสังคมโลกได้อย่างสง่างาม ประเทศร่ำรวยมั่งคั่งมีเศรษฐกิจดี ธุรกิจและอุสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศมีความมั่งคง ประชากรมีอำนาจในการซื้อ เศรษฐกิจหมุนเวียน ประเทศมีการส่งออกได้มากในตลาดโลก มีรายได้เข้าประเทศได้มาก รัฐบาลสามารถมีเงินมากในการพัฒนาความเจริญให้แก่ประเทศในทุก ๆ ด้าน อาทิ การคมนาคม การสาธารณสุขการเกษตร การอุตสาหกรรม มีเงินทุนการอุดหนุนการวิจัยในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ด้านเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ประชาชนมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุข เป็นสิ่งยอดปรารถนาของทุกประเทศของทุกรัฐบาลที่ย่อมต้องการบริหารประเทศให้ประสบความสำเร็จมุ่งมั่นให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข เป็นประเทศที่ร่ำรวย
การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์สร้างสรรค์เป็นสิ่งประดิษฐ์เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในรูปแบบต่างๆต่อมนุษย์ จึงเป็นการศึกษาเพื่อธุรกิจ
นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง ความสามารถในการนำความรู้ ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะและประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาใช้เพื่อการพัฒนาด้านการจัดการ การผลิต กระบวนการผลิต หรือการบริการแนวใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้หรือตลาด จึงมีความหมายที่เป็นการคิดค้นในเชิงธุรกิจด้วย
นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การแปลงความคิดให้เป็นผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการใหม่ หรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการที่มีจำหน่ายในตลาด และรวมถึงการแปลงความคิดให้เป็นแนวทางใหม่สำหรับการให้บริการสังคม
กิจกรรมนวัตกรรม (Innovation Activities) ครอบคลุมการดำเนินการต่าง ๆ ใน 6 ลักษณะ คือ
1. การจัดหาและปรับประยุกต์เปลี่ยนอุปกรณ์และเครื่องจักรอุตสาหกรรม
2. การพัฒนาหรือปรับปรุงกรรมวิธีการผลิตและการทดลองผลิตซึ่งรวมถึงการฝึกอบรมพนักงานในการใช้เทคนิคและเครื่องจักรใหม่
3. การตลาด สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งรวมถึงการลองตลาดใหม่ การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับตลาดที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ไม่รวมถึงการสร้างเครือข่ายสำหรับนวัตกรรมทางตลาด
4. การจัดหาเทคโนโลยีจากภายนอกที่เป็นรูปธรรม เช่น สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า ความรู้ที่ยังไม่เปิดเผย และบริการอื่น ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี
6. การออกแบบ การวางแผนและตัวแบบที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนวัตกรรม เช่น กระบวนการผลิต ข้อกำหนดทางวิชาการและคุณลักษณะการทำงาน